จดหมายข่าว องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ

 อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000

 

 ภาษีบำรุงท้องที่

ที่ดิน หมายถึง พื้นที่ดินรวมถึงภูเขาและแหล่งน้ำด้วย
เจ้าของที่ดินหมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธ์ในที่ดิน๖ (สำรวจใหม่) ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.) ภายในเดือนมกราคม (สำรวจใหม่ทุกระยะ 4 ปี) เสียภาษีภายในเดือนมกราคม-เมษายนของทุกปี หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งประเมินคำนวณราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการตีราคาปานกลางที่ดินกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี x กับอัตราภาษีเนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี (ไร่=เนื้อที่ครอบครอง-เนื้อที่ลดหย่อน ) เนื้อที่ดินในเขตเทศบาลตำบลเนื้อที่ลดหย่อนมาเกิน 1 ไร่ เงินเพิ่มไม่เสียภาษีในกำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษี

บทกำหนดโทษ

–  โทษทางแพ่ง
* ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลากำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษี
* ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของภาษี
* แจ้งจำนวนเนื้อที่ไม่ถูกต้องให้เสียเงินเพิ่ม 1 เท่าของภาษี
* ไม่ชำระภาษีในกำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี
– โทษทางอาญา
* พยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
* ไม่ยอมชี้เขตหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินโทษจำคุก 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* ขัดขวางเจ้าพนักงานโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท
* ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าหน้าที่โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

 

หมายถึง ภาษีจัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงานบริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนต์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต สนามมวย สนามม้า คลังสินค้า หอพัก ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือน และที่ดินคือเจ้าของทรัพย์สิน  ค่าภาษีผู้เสียภาษีชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี

ขั้นตอนการเสียภาษี
1.เจ้าของทรัพย์สินยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สิน (แบบ ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2.เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินค่าภาษี
3. เสียภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินหรือยื่นแบบ (ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี)
4. หากไม่เสียภาษีภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มดังนี้
“- เสียภาษีไม่เกิน 1 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีค้าง
“- เสียาษีไม่เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีค้าง
“- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีค้าง
“- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีค้าง

บทลงโทษ
ไม่ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในกำหนดปรับ 200 บาท (มาตรา 46) แจ้งข้อความเท็จโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 500 ความหมายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมาย
  

ภาษีป้าย

ขั้นตอนการเสียภาษี
1. เจ้าของทรัพย์สินยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2. เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินค่าภาษี
3. เสียภาษีภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้ง ( ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี )
4. หากไม่เสียภาษีในกำหนดต้องเสียภาษีเงินเพิ่มดังนี้
“- เสียภาษีไม่เกิน 1 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีค้าง
“- เสียภาษีไม่เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อลละ 5 ของค่าภาษีค้าง
“- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อลละ 7.5 ของค่าภาษีค้าง
“- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อลละ 10 ของค่าภาษีค้าง

บทกำหนดโทษ
ไม่ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในกำหนดปรับ 200 บาท (มาตรา 46) แจ้งข้อความเท็จโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 ความหมายป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายในการประกอบการค้าเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพเครื่องหมาย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
1. เจ้าของป้าย
2. ผู้ครอบครองป้ายหรือเจ้าของป้ายหรือเจ้าของที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้ง

การคำนวณพื้นที่ป้ายอัตราค่าป้าย ป้ายที่มีขอบเขตคำนวณดังนี้ ส่วนกว้างที่สุด x ส่วนยาวที่สุดของป้ายนั้นป้ายที่ไม่มีขอบเขตคำนวณดังนี้ให้ถือตัวอักษรภาพที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนกว้างที่สุดยาวที่สุด อัตราภาษีป้าย   แบ่งเป็น 3 อัตรา

ลักษณะ ราคา(บาท)
1. อักษรไทยล้วน 30 บาท/500 ตร.ซม.
2.อักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ/ภาพ 20 บาท/500 ตร.ซม.
    /เครื่องหมาย      
3. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยหรืออักษรไทย 40 บาท/500 ตร.ซม.
    อยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ    
*** ป้ายใดที่เสียต่ำกว่า 200 บาทให้เสีย 200 บาท ***    
       

ขั้นตอนการเสียภาษี
1. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภป.1) พร้อมหลักฐานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
2. พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่าภาษีป้าย
3. เสียภาษีป้ายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
4. ไม่เสียภาษีภายในกำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย

บทกำหนดโทษ
ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภป.1) ปรับตั้งแต่ 5,000-10,000บาท (มาตรา 35) แจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ